Notifications
Clear all

รวมข่าว/มุมมองของ AI ที่ปรากฏในสื่อเมืองไทย

12 ข้อความ
2 Users
0 Likes
6,701 Views
thaikeras team
(@thaikeras-nickname)
New Member
เข้าร่วมเมื่อ: 5 years ago
ข้อความ: 2
Topic starter  

ประมาณนาทีที่สิบกว่าๆ  มีพูดถึงกองทุน machine learning ของ SCBAM (SCB Asset Management)

https://youtu.be/BQVJU17RQ9w


   
อ้างอิง
The Neural Engineer
(@neural-engineer)
Honorable Member Admin
เข้าร่วมเมื่อ: 6 years ago
ข้อความ: 399
 

แผนการใหญ่ A.I. 2030: จีนต้องการอะไร?

อ่านต่อได้ที่ https://www.the101.world/ai-china/


   
ตอบกลับอ้างอิง
The Neural Engineer
(@neural-engineer)
Honorable Member Admin
เข้าร่วมเมื่อ: 6 years ago
ข้อความ: 399

   
ตอบกลับอ้างอิง
The Neural Engineer
(@neural-engineer)
Honorable Member Admin
เข้าร่วมเมื่อ: 6 years ago
ข้อความ: 399
 

ใครว่า AI ไกลตัว เพราะกรุงศรีฯ เอามาใช้กับระบบงานบัตรเครดิตกันแล้ว

 

https://brandinside.asia/ai-creditcard-krungsri/


   
ตอบกลับอ้างอิง
The Neural Engineer
(@neural-engineer)
Honorable Member Admin
เข้าร่วมเมื่อ: 6 years ago
ข้อความ: 399
 

AIS Odini, Robo Mutual Fund Advisor

http://www.ais.co.th/odini/


   
ตอบกลับอ้างอิง
The Neural Engineer
(@neural-engineer)
Honorable Member Admin
เข้าร่วมเมื่อ: 6 years ago
ข้อความ: 399
 

เรื่องจริงที่คนหยุด แต่ AI ไม่หยุด / จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว

ถ้าคนจะแพ้หุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์ ก็คงมีสิ่งเดียวเท่านั้นก็คือ เมื่อคนอยู่นิ่งและหยุดการเรียนรู้

ไม่มีอะไรที่จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดี ที่ประเทศชาติควรเสริมให้เกิดความ “มั่นคง” โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างรั้วภายนอกให้แข็งแรง แต่ข้างในอ่อนแอ จะดีกว่าไหมถ้าเราจะทำให้ภายในแข็งแรง จนล้นออกไปสู่ภายนอก ด้วยการสร้างสังคมโดยรวมตามคติและความคิดที่นำไปสู่การลงมือปฏิบัติจาก “มั่งคั่ง” สู่การ “แบ่งปัน” และสร้างสรรค์สังคมให้ “ยั่งยืน”

ในบริบทที่เล็กลงมาจากระดับประเทศสู่ระดับองค์กร ไม่ว่าองค์กรนั้นจะเป็นหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน หรือแม้แต่หน่วยงานสาธารณกุศลก็ตาม ก็คือการสร้างทัศนคติ หรือชุดความคิดของคนภายในองค์กรให้ตื่นรู้ ตื่นตัว และติดตามความก้าวหน้าที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่แรงงานในหลายประเทศกำลังตื่นกลัวกับกระแสการใช้หุ่นยนต์ (Robot) ระบบอัตโนมัติ (Automation) และ AI (Artificial Intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์) ในขณะที่นโยบายของรัฐบาลในหลายประเทศก็ออกมาโอบอุ้มและซื้อเวลา โดยหวังว่าผู้คนในประเทศจะขยับปรับตัวและพัฒนาตนเองให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก

แต่ประเทศจีน ประเทศที่ใหญ่ติดอันดับโลก มีประชากรมากมายมหาศาล และน่าจะเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกมากที่สุด กลับไม่กลัวว่าคนจะตกงาน แต่กำหนดนโยบายที่รับมือกับความก้าวล้ำนำหน้าของเทคโนโลยีได้ดีที่สุด คาดการณ์ว่าในอีกสิบปีข้างหน้าประเทศจีนกำลังจะขึ้นมาเป็นประเทศที่มีการใช้หุ่นยนต์ในระดับแถวหน้า มีการใช้เทคโนโลยีทางการเงินที่ก้าวล้ำนำหน้าที่สุด จากประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น “โรงงานของโลก (Factory of the World)” ที่สินค้าชั้นนำทั่วโลกต่างมาผลิตที่จีนอันเนื่องมาจากมีแรงงานจำนวนมาก มีต้นทุนที่ต่ำ อีกทั้งยังเคยได้ชื่อว่าเป็นแหล่งละเมิดลิขสิทธิ์สินค้าชั้นนำมากมายหลายยี่ห้อ แต่นั่นกำลังจะกลายเป็นอดีตไปแล้ว

เมื่อแบรนด์สินค้าหลายรายการของจีนขึ้นติดอันดับ Top Five ของโลก ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟน แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้า แบรนด์รถยนต์ และกำลังเป็นผู้ส่งออกเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานเข้าไปในอีกหลายประเทศที่กำลังพัฒนา อาทิ เทคโนโลยีการก่อสร้าง เทคโนโลยีรถไฟฟ้า (ความเร็วปานกลาง และความเร็วสูง) เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีทางการเงิน เทคโนโลยีทางการแพทย์

จะดีกว่าไหม ถ้าเราจะหยุดถกเถียงเรื่อง “การศึกษา” แล้วหันมาพัฒนา “การเรียนรู้” เพราะเมื่อเราพูดถึงการศึกษา เรามักจะมุ่งไปที่การศึกษาในระบบ การศึกษาเชิงโครงสร้าง การให้ความรู้ตามลำดับขั้นที่เป็นแบบแผน และการวัดผลสำเร็จผ่านการสอบ ทั้งๆที่เวลาที่คนใช้ในการศึกษาเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆในช่วงแรกของชีวิตเท่านั้น แต่เวลามากกว่า 2 ใน 3 ของการใช้ชีวิต เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ เป็นช่วงเวลาแห่งการทำงาน เป็นช่วงเวลาแห่งการสร้างผลงาน และเป็นช่วงเวลาของการใช้ชีวิตที่แท้จริง ซึ่งสภาพแวดล้อมรอบตัวทุกคน เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนและไม่มีใครไปกำหนดให้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ดังนั้นการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ เป็นโจทย์ที่ท้าทายมากกว่าข้อสอบในชั้นเรียนมากมาย

ถ้าคนจะแพ้หุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์ ก็คงมีสิ่งเดียวเท่านั้นก็คือ เมื่อคนอยู่นิ่งและหยุดการเรียนรู้ ซึ่งเราเห็นสิ่งนี้ได้ในทุกวันในทุกองค์กร คนทำงานที่อยู่กับการทำอะไรซ้ำเหมือนเดิมทุกวัน และใช้เวลาอีกส่วนหนึ่งกับการแก้ปัญาหาซ้ำซากเดิมๆ โดยไม่คิดปรับปรุงหรือป้องกันการเกิดซ้ำ แล้วก็มานั่งบ่นกันว่าเทคโนโลยีที่ทันสมัยกำลังจะเข้ามาแย่งงานหรือทำให้ตัวเองต้องตกงาน แต่ AI มีระบบหนึ่งซึ่งอยู่ในตัวมันก็คือ Machine Learning ที่ทำให้มันเรียนรู้ตลอดเวลา จนดูเหมือนว่ามันหิวกระหายข้อมูลแบบไม่รู้จักพอ

แล้วคนประเภทไหนที่สามารถเอาชนะ AI ได้ ก็คนที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาและมีความฉลาดที่เหนือกว่า หลายกรณีที่มีความพยายามจัดการแข่งขันหรือทดสอบระหว่างความสามารถของคน กับความสามารถของ AI อาทิ การจัดแข่งขันหมากกระดาน (หมากรุก และโกะ) ระหว่างแชมป์ที่เป็นคน กับระบบปัญญาประดิษฐ์ เมื่อผ่านการแข่งขันในจำนวนครั้งที่มากขึ้น AI ก็มีฐานความรู้ที่มากเพียงพอจนสามารถวิเคราะห์เกมการเดินได้เกือบจะทุกรูปแบบที่เป็นไปได้ และสามารถเอาชนะแชมป์ได้ในที่สุด

แต่โลกยุคหน้าไม่ได้เป็นเช่นนั้น AI จะเป็นเพียงนอมินีของคนยุคใหม่ AI จะกลายเป็นผลผลิตของคนที่มีความชาญฉลาด องค์กรชั้นนำต่างๆจะสร้าง AI ขึ้นมาแข่งขันกัน เรากำลังจะก้าวสู่ยุคการแข่งขันด้วยตัวแทนที่เป็น AI ไม่ใช่การแข่งขันระหว่างคนต่อคนโดยตรง ทุกวันนี้เราจะเห็นผู้ให้บริการ E-Commerce ชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะเป็น Amazon Alibaba JD.com และอีกหลายผู้ให้บริการ กำลังพัฒนา AI ที่สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ติดตามผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไปในทุกที่(เปิดเว็บไซต์ไหนก็เจอ) พยายามนำเสนอสินค้าที่เชื่อว่าคนคนนั้นกำลังค้นหาอยู่ และพยายามคิดโปรโมชั่นที่ตอบโจทย์ตรงใจลูกค้าแต่ละกลุ่ม จนเชื่อว่าต่อไปอาจจะถึงขั้นมีโปรโมชั่นเฉพาะคน

ดังนั้นกระบวนการที่เกี่ยวข้องการการประมวลผลข้อมูลทั้งหมดในโลกนี้ ที่เดิมเคยใช้คนทำงาน แต่เมื่อคนหยุด(การเรียนรู้) ก็จะถูก AI เข้าไปแทนที่ ส่วนกระบวนการที่ต้องใช้การปฏิบัติการหรือลงมือทำ เช่นงานก่อสร้าง งานเกษตรกรรม งานการผลิต งานขนส่งต่างๆ ก็จะถูก Robot เข้าไปแทนที่ ดังนั้นอย่าหยุดเรียนรู้ เพราะ AI ไม่เคยหยุด


   
ตอบกลับอ้างอิง
The Neural Engineer
(@neural-engineer)
Honorable Member Admin
เข้าร่วมเมื่อ: 6 years ago
ข้อความ: 399
 

‘เอไอ’ ผู้ช่วยคนใหม่ของนักกฎหมาย / ธัชกรณ์ วชิรมน

เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อวงการนักกฎหมายในต่างประเทศ โดยความน่าสนใจอยู่ที่การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ด้วยเทคโนโลยีแมชีนเลิร์นนิง

จากปรากฏการณ์เทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้หลายสาขาอาชีพต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและบริบททางสังคมได้อย่างรอบด้านมากยิ่งขึ้น

หนึ่งในอาชีพที่น่าสนใจและมีความชัดเจนในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์คือ อาชีพนักกฎหมายที่ได้มีการนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ(Artificial Intelligence – AI) เข้ามาใช้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในหน้างานพื้นฐานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น เอื้อประโยชน์ในการลดปริมาณงานบางประเภทลง เพื่อให้บุคลากรด้านกฎหมายสามารถนำต้นทุนด้านเวลาและกำลังความคิดมาใช้พัฒนาตัวบทกฎหมายและการพิจารณารูปคดีใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

เอไอ เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อวงการนักกฎหมายในต่างประเทศ โดยความน่าสนใจอยู่ที่การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ด้วยเทคโนโลยีแมชีนเลิร์นนิง (Machine Learning) เพื่อป้อนข้อมูลให้เอไอเรียนรู้จากชุดข้อมูลหรือรูปแบบ(Pattern) ที่ถูกสร้างขึ้นให้มีความสอดคล้องกับการพิจารณาทางกฎหมายในรูปคดีหรือสถานการณ์ต่างๆ อย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อให้เอไอสามารถอ้างอิงวิธีการตรวจสอบและการตอบสนองกับชุดข้อมูลไปในแนวทางเดียวกันกับนักกฎหมาย

ทั้งนี้ เพื่อสร้างระบบการประมวลผลให้เอไอสามารถเป็นผู้ช่วยในการคัดกรองเนื้อหาและสำนวณคดีในเบื้องต้นให้เหลือเฉพาะส่วนที่มีความเกี่ยวข้องทางกฎหมาย เพื่อประโยชน์ในการช่วยลดปริมาณข้อมูลและเอกสารจำนวนมากที่รอการตรวจสอบลงได้นั่นเอง

แม้ว่าสำนักงานและที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายหลายแห่งในต่างประเทศได้มีการนำระบบปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้เป็นขั้นตอนหนึ่งในการวิเคราะห์เอกสารและหลักฐานต่างๆ แล้ว แต่ในบางรูปคดีหรือในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนกลับยังคงต้องใช้การตัดสินใจของมนุษย์เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับความอ่อนไหวทางสังคมและการเมือง รวมถึงปัจจัยด้านศีลธรรม จรรยาบรรณและมนุษยธรรม ก็ยังคงเป็นข้อจำกัดที่เกินกว่าความสามารถของเอไอในการตัดสินด้วยการประมวลผลของตัวระบบเองได้ จึงทำให้การพิจารณาโดยนักกฎหมายยังคงมีความจำเป็นและน่าเชื่อถือมากกว่า

นอกเหนือจากขอบเขตการพิจารณาทางด้านกฎหมายแล้ว การพัฒนาระบบประมวลผลของเอไอยังครอบคลุมไปถึงการสนับสนุนการทำงานของนักวิจัยและนักประดิษฐ์เพื่อช่วยตรวจสอบในเบื้องต้นว่าผลงานที่กำลังสร้างสรรค์อยู่นั้นเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่จะสามารถขออนุมัติการจดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา (copyrights)และการจดสิทธิบัตร (patent) ได้หรือไม่

อีกทั้งยังสามารถช่วยตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารเพื่อป้องกันการปลอมแปลงลายลักษณ์อักษรที่มีผลทางกฎหมาย อาทิ ลายเซ็น เครื่องหมายทางการค้า รวมถึงระบบตรวจสอบการคัดลอกและการละเมิดลิขสิทธิ์ (plagiarism) ในบทความงานวิจัยและงานเขียนต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งการเลือกใช้การวิเคราะห์ข้อมูลของเอไอแต่ละประเภทให้มีความเหมาะสมก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เกิดผลการดำเนินงานที่ยังคงความน่าเชื่อถืออยู่

ด้วยความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ เซอร์ทิสมีมุมมองว่า แม้เอไอจะเข้ามาเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่รองรับการทำงานของบุคลากรด้านกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ มุมมองความคิดที่สามารถเข้าถึงจิตใจ การพิจารณาคดีตามหลักมนุษยธรรม และทักษะการสื่อสารที่มีความละเอียดอ่อนต่อทุกฝ่ายเพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินรูปคดี ที่ยังคงจำเป็นต้องอาศัยวิจารณญาณและการทำงานของนักกฎหมายเป็นหลัก เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับมาตรฐานของวิชาชีพและเป็นข้อจำกัดที่เอไอยังไม่สามารถเข้ามาทดแทนได้

ท้ายที่สุดนี้ สิ่งนี้อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในอาชีพนักกฎหมาย แต่เป้าหมายที่สำคัญที่สุดอยู่ที่นักกฎหมายจะสามารถนำต้นทุนด้านเวลาที่มีมากขึ้นและศักยภาพการทำงานที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้เพียงใด เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะและตัวบทกฎหมายให้ครอบคลุมถึงรูปคดีใหม่ๆ ให้ทันต่อบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบันได้อย่างเหมาะสมต่อไปนั่นเอง


   
ตอบกลับอ้างอิง
Page 1 / 2
Share: